Tag Archive PowerBuilder

PowerBuilder: Deploy

การ Deploy โปรเจกต์ powerbuilder ไปยัง user สามารถทำได้โดยมีส่วนประกอบ 2 ส่วนด้วยกัน

  1. ไฟล์ *.exe
    • ชื่อไฟล์โดยปกติจะโดนระบุไว้ในไฟล์ *.pbt
    • ถ้าไม่มีการเพิ่มหรือลด library ใน target ก็ไม่จำเป็นต้องส่งไฟล์นี้ให้ user
  2. ไฟล์ *.pbd
    • เป็นไฟล์ที่เกิดจากการแปลงไฟล์ library ( *.pbl ) โดยจะมีชื่อเดียวกันแต่นามสกุล .pbd โดยจะอยู่ใน path เดียวกัน
    • สามารถนำไฟล์ pbd ไปแทนที่ไฟล์เดิมในเครื่อง user ได้ทันที ตัว .exe จะสามารถใช้ datawindow, function, window และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ใน library version นั้น ๆ ได้ทันที
    • ไฟล์ pbd อื่น ๆ สามารถเรียกใช้สิ่งที่อยู่ใน pbd อื่น ๆ ได้ ถ้ายังเป็นชื่อเดิม มี parameter เหมือนเดิม ถึงตัวมันเองจะเก่ากว่า หรือว่าใหม่กว่าไฟล์ pbd ตัวนั้น ๆ

ข้อดีจากคุณสมบัติของไฟล์ pbd และ exe ทำให้เวลาที่ส่งโปรแกม update ให้ user สามารถส่งบางฟีเจอร์ ไปให้ user แต่ละกลุ่มได้โดยการส่ง pbd ให้ต่างกัน กลุ่ม a อาจจะได้รับไฟล์ pbd ที่ใหม่กว่าเพื่อทดลองใช้ฟีเจอร์ใหม่ ๆ ในเมนูเดียวกันกับกลุ่ม b ที่ได้รับไฟล์ pbd เวอร์ชั่นก่อนหน้าที่ใช้งานได้ อาจจะไม่ดีนัก แต่ทำงานได้อยู่

PowerBuilder: build application

การ build source code ของเราเป็น application ( .exe ) ทำได้ง่าย ๆ โดย

  1. เปิด workspace ที่ต้องการขึ้นมาเช่น งานชิ้นใหม่ก็เปิดจาก development.pbw
  2. ใน System tree คลิก target ที่ต้องการ build
  3. คลิกขวา New…
  4. ที่เท็บ Project เลือก Application Wizard
  5. คลิก OK
  6. จะมีหน้าต่าง About the Application Project Wizard ขึ้นมา คลิก Next >
  7. หน้า Specify Destination Library
  8. คลิก Next >
  9. หน้า Specify Project Object จะให้เราสามาารถตั้งชื่อได้ เช่น p_prototypes_pb8_exe
  10. คลิก Next >
  11. หน้า Specify Executable and Resource Files จะช่องให้ว่าจะ build ไฟล์ .exe ไว้ที่ไหน ชื่ออะไร
  12. คลิก Next >
  13. หน้า Specify Build Options มีอยู่ 2 Options
    • Fill Build จะ build ทั้ง target
    • Incremental Build จะ build เฉพาะไฟล์ที่เปลี่ยนแปลงจากครั้งที่ Build ล่าสุดเท่านั้น จะเร็วกว่า
  14. คลิก Next >
  15. หน้า Generate Machine Code?
  16. คลิก Next >
  17. หน้า Specify Dynamic Library Options
  18. ติ๊ก Build Dynamic Libaries (.PBD)
  19. คลิก Next >
  20. หน้า Specify Version Information จะไว้ระบุข้อมูลของโปรแกรม เช่น บริษัท version
  21. คลิก Next >
  22. หน้า Ready to Create Application จะให้รายละเอียดตัวเลือกที่ผ่านมา
  23. คลิก Finish
  24. จะเห็นหน้าที่ใช้ Build โดยด้านล่างจะมี list Library ให้สามารถเลือกทับ Resource File Name นั้น ๆ ได้
  25. คลิก Deploy จากเมนู

ด้านล่างจะมี log แสดงการทำงานอยู่ เมื่อแสดงข้อความประมาณ

———- Deploy: Deploy of p_prototypes_pb8_exe
Creating executable file . . .
Inspecting Application Dependencies. . .
Inspecting Application Dependencies. . .
Inspecting application libraries . . .
Writing C:\UsersDatas\ProjectsGit\PrototypesPowerBuilder8\Source code\common.pbl(prototypes_pb8) . . .
———- Finished Deploy of p_prototypes_pb8_exe


โปรแกรมของเราจะเสร็จสมบูรณ์

PowerBuilder: Target

ตัวโปรแกรมจริง ๆ ของ powerbuilder ที่เอาไป build เป็น *.exe จะอยู่ในไฟล์ target โดยไฟล์นี่จะมีหน้าที่ลิสต์ Library ต่าง ๆ ที่ใช้ไว้

  1. เปิด workspace ที่ต้องการขึ้นมาเช่น งานชิ้นใหม่ก็เปิดจาก development.pbw
  2. คลิก file
  3. คลิก Open..
  4. Browse ไปไฟล์ *.pbw ที่ต้องการ
  5. คลิก OK
  6. คลิก file
  7. คลิก New…
  8. ที่เท็บ Target เลือก Application
  9. ระบุ
    • Application Name: เช่น prototypes_pb8 ย่อมาจาก Prototype Power Builder 8
    • Library: จะเป็นไฟล์ที่เก็บส่วนประกอบย่อย ต่าง ๆ เป็นกลุ่ม ๆ เหมือนห้องสมุดที่แบ่งเป็นห้องสมุดการแพทย์ก็อยู่ที่หนึ่ง ห้องสมุดเกี่ยวกับการเกษตรก็อยู่อีกที่ เช่น C:\UsersDatas\ProjectsGit\PowerBuilder\Prototype_PB8\common.pbl
      สาเหตุที่ไฟล์นี้ใช้คำว่า common เพราะตั้งใจจะไว้เก็บ function กลาง ไว้ใช้ทั้งโปรแกรม
    • Target: จะเป็นชื่อไฟล์ .exe ที่จะ build ขึ้นมา เช่น C:\UsersDatas\ProjectsGit\PowerBuilder\Prototype_PB8\prototypes_pb8.pbt

เมื่อเปิดโพลเดอร์ C:\UsersDatas\ProjectsGit\PowerBuilder\Prototype_PB8 จะเห็นอยู่ 2 ไฟล์ main_pb8.pbt และ common.pbl ที่จะอธิบายต่อไป

About PowerBuilder: 101

เริ่มจากอะไรคือ PowerBuilder นิยามง่ายๆ คือเป็น program ที่ไว้สร้าง program แต่ไม่เน้น programming มากนัก ไม่ขนาด Microsoft Visual Studio แต่อยู่ประมาณ Code Less, ลากๆ วางๆ แต่ไม่ขนาด Workflow JoGet หรือ UiPath

ประวัติคร่าวๆ ตามธรรมเนียม

  • เริ่มจากบริษัท PowerSoft ปล่อยออกมาในปี 1991 ( เก่ามาก PHP เริ่มปี 1994 นะคิดดู )
  • ไปอยู่กับ SAP ในปี 2013 ข้ามไป version 15 ละ
  • แล้วมี Appeon เอามาเปลี่ยนระบบเป็น c# แทนใน version R2 แต่ยังกึ่งๆ PowerScript  กับ .NET อยู่