Category Archive Q & A

Byphunsanit

แก้เน็ตค้างกับเราเตอร์ 3 เสา

เพราะว่าที่บ้านใช้เน็ตแบบ 24/7 จริงๆ ถึงจะอยู่แค่คนเดียว มีแค่ nas กับมือถือที่ต่อเน็ตอยู่ตลอดเวลา กับ tv ที่ไว้ดูหนังออนไลน์เวลาพัก แต่เราเตอร์ได้มาจากทรูมันค้างตลอดศก วัน สองวันต้องมากด restart มันทีหนึ่ง งานไม่ได้หนักแต่มันเสียอารมณ์มากเลย ยิ่งถ้ากำลังดูหนังจาก youtube ในทีวีอยู่ เคยไปขอตัวใหม่มาใช้ ไม่นานก็เป็นอีก

เดินๆ งานคอมอยู่เห็นขายเยอะเลย หลายรุ่น ตัวเจ็บๆ ก็เยอะ asus ก็น่าสนหลายตัวแต่แพง ซื้อไม่ลง เดินดูเรื่อยๆ เห็น D-link dir809 Wireless AC750 Dual Band Router แปะอยู่ตัวโตๆ 900 เอง แถมดูโหงวเฮ้งมี 3 เสา ไกล้ๆ เขียน dual band 2.4 GHz. กับ 5 GHz. ไม่ใช่ repeater ความโลภเข้ามาทันที ถามดูประกันตลอดอายุ ก็จัดซิครับ

พอมาถึงบ้านจักการ config เข้าไปที่ http://192.168.0.1 user admin pass ไม่ต้องใส่ เข้าไปแก้ ตามที่ router ตัวเก่าก็แล้ว ใช้ไม่ได้ โทรถามทรูขอ pass ใหม่ ก็ใช้ไม่ได้ โทรไปโทรมา เค้าเช็คจากชื่อรุ่นว่ามันไม่มี modem adsl ในตัว T-T พลาดละ มิน่าถึงถูกตัวอื่น 3000 ถึงหมื่นต้นๆทั้งนั้น

โดยสรุปคือ ต้องใช้ router ตัวเดิมต่อเน็ต แล้วต่อสายแลนเข้าตัวนี้จ่ายเน็ตแทน อนาถยิ่งนัก

  1. ต่อสานแลนจาก router เดิมที่ใช้ออกเน็ต
  2. config โดนเปิดเน็ตเข้าไปที่ http://192.168.0.1 user กรอกadmin pass ไม่ต้องใส่
  3. กด easy setup ใส่ ชื่อ wifi ใหม่ในช่อง Wireless Network Name (SSID) และใส่ password wifi ในช่อง Wireless Password ทั้งสองตัวแต่ Wireless Network Name (SSID) ต้องใช้คนละชื่อกัน
  4. เปลี่ยน password ตัวเร้าเตอร์ใหม่ กันมือเลวมาขโมยเล่น ใน tools ใต้ ADMINISTRATOR ใส่ password เข้าไปใหม่
  5. เข้าไปปิด การจ่าย wifi ของเราเตอร์ตัวเดิม งานมันจะได้ไม่หนัก ไม่น้อยใจฆ่าตัวตายบ่อยๆ
  6. จากที่ใช้มาเดือนกว่าๆ สัญญานนิ่งมาก ไกล ไม่ค้างเลย เพิ่งมาค้างตอนมีคนมาช่วยใช้อีก 3 คนแต่สั่ง restart ครั้งเดียวก็ไม่เป็นอีก จากราคาที่จ่ายไปก็ถือว่าคุ้มอยู่

Byphunsanit

บั๊คที่แท้มันคืออะไรตับไตใส้พุง

มี user ถามมาว่า bug คืออะไร ทำไม่มี bug ก็เลยลองเขียนตัวอย่างให้ดู ยกตัวอย่างบัคที่เกิดจาการกรอกข้อมูลผิดไปจากที่ระบบออกแบบและคาดหวังไว้ ก็มีคำถามกลับมาประมาณว่าทำไม่ไม่ตรวจให้หมดละ เลยลองทำตัวอย่างออกมา

<?php

$strings = [
    '!@#$%^&*()_-+="{}[]\+:<>,./?',
    'Apple Inc.',
    'email.gmail.com',
    'email.job.co.th',
    '[email protected]',
    '[email protected]',
    'https://pitt.plusmagi.com/about/',
    'https://pitt.plusmagi.com/เชื่อมต่อ-php-กับ-sql-server-sqlsrv/',
    'james bond 007',
    'johnny english พยัคฆ์ร้าย 00ก๊าก',
    'pitt@小米科技.cn',
    'sale 20%',
    'Xiaomi Inc. (小米科技)',
    'Xiaomi Inc.',
    'พิชญ์ พันธุ์สนิท pitt phunsanit',
    'พิชญ์ พันธุ์สนิท',
    'พิชญ์@gmail.com',
    'หนึ่งในพระราชดำริ ช่อง 9',
    'หนึ่งในพระราชดำริ ช่อง ๙',
    'ไทย นี่มันไทยจริงๆ',
];

function validateAlphanumeric($string)
{
    if (preg_match('/[^A-Za-z0-9]/', $string)) {
        return true;
    } else {
        return false;
    }
}

function validateAlphanumericEnglish($string)
{
    if (preg_match('/^[a-zA-Z0-9\s]+$/', $string)) {
        return true;
    } else {
        return false;
    }
}

function validateAlphanumericThai($string)
{
    if (preg_match('/[^A-Za-z0-9-ก-๙]/', $string)) {
        return true;
    } else {
        return false;
    }
}

function validateAlphanumericThaiOnly($string)
{
    /* อักษรภาษาไทย และ space */
    if (preg_match('/^[ก-ฮ\s]+$/', $string)) {
        return true;
    } else {
        return false;
    }
}

function validateEmail($string)
{
    if (filter_var($string, FILTER_VALIDATE_EMAIL)) {
        return true;
    } else {
        return false;
    }
}

function validateFilterURL($string)
{
    if (filter_var($string, FILTER_VALIDATE_URL)) {
        return true;
    } else {
        return false;
    }
}

function validatePregURL($string)
{
    if (preg_match('/\b(?:(?:https?|ftp):\/\/|www\.)[-a-z0-9+&@#\/%?=~_|!:,.;]*[-a-z0-9+&@#\/%=~_|]/i', $string)) {
        return true;
    } else {
        return false;
    }
}

echo '<!doctype html>
<html>
   <head>
      <meta charset="utf-8">
      <title>PHP String Validation By Ptii Phunsanit</title>
      <meta name="author" content="Pitt Phunsanit">
      <link href="https://maxcdn.bootstrapcdn.com/bootstrap/3.3.6/css/bootstrap.min.css" rel="stylesheet" type="text/css">
   </head>
   <body>
      <table class="table table-striped">
      <caption>
         PHP String Validation
      </caption>
      <thead>
         <tr>
            <th>Test</th>
            <th>String</th>
            <th colspan="4">Alphabet</th>
            <th>Email</th>
            <th colspan="2">URL</th>
         </tr>
         <tr>
            <th></th>
            <th></th>
            <th>Alphanumeric</th>
            <th>Alphanumeric English</th>
            <th>Alphanumeric Thai</th>
            <th>Alphanumeric Thai Only</th>
            <th>Email</th>
            <th>Filter URL</th>
            <th>Preg URL</th>
         </tr>
      </thead>
      <tbody>';
foreach ($strings as $no => $string) {
    echo '<tr>',
    '<th>', ($no + 1), '</th>',
    '<th>', $string, '</th>',
    '<td>', (int) validateAlphanumeric($string), '</td>',
    '<td>', (int) validateAlphanumericEnglish($string), '</td>',
    '<td>', (int) validateAlphanumericThai($string), '</td>',
    '<td>', (int) validateAlphanumericThaiOnly($string), '</td>',
    '<td>', (int) validateEmail($string), '</td>',
    '<td>', (int) validateFilterURL($string), '</td>',
    '<td>', (int) validatePregURL($string), '</td>',
        '</tr>';
}
echo '</tbody></table></body></html>';

ผลที่ได้ ดูเต็มๆ เว็บนี้ยังมี bug เลย แต่ไม่คุ้มที่จะแก้
1 คือผ่านการทดสอบ 0 คือ ไม่ผ่านการทดสอบ

PHP String Validation
Test String Alphabet Email URL
Alphanumeric Alphanumeric English Alphanumeric Thai Alphanumeric Thai Only Email Filter URL Preg URL
1 !@#$%^&*()_-+=”{}[]\+:<>,./? 1 0 1 0 0 0 0
2 Apple Inc. 1 0 1 0 0 0 0
3 email.gmail.com 1 0 1 0 0 0 0
4 email.job.co.th 1 0 1 0 0 0 0
5 [email protected] 1 0 1 0 1 0 0
6 [email protected] 1 0 1 0 1 0 0
7 https://pitt.plusmagi.com/about/ 1 0 1 0 0 1 1
8 https://pitt.plusmagi.com/เชื่อมต่อ-php-กับ-sql-server-sqlsrv/ 1 0 1 0 0 0 1
9 james bond 007 1 1 1 0 0 0 0
10 johnny english พยัคฆ์ร้าย 00ก๊าก 1 0 1 0 0 0 0
11 pitt@小米科技.cn 1 0 1 0 0 0 0
12 sale 20% 1 0 1 0 0 0 0
13 Xiaomi Inc. (小米科技) 1 0 1 0 0 0 0
14 Xiaomi Inc. 1 0 1 0 0 0 0
15 พิชญ์ พันธุ์สนิท pitt phunsanit 1 0 1 0 0 0 0
16 พิชญ์ พันธุ์สนิท 1 0 1 1 0 0 0
17 พิชญ์@gmail.com 1 0 1 0 0 0 0
18 หนึ่งในพระราชดำริ ช่อง 9 1 0 1 0 0 0 0
19 หนึ่งในพระราชดำริ ช่อง ๙ 1 0 1 1 0 0 0
20 ไทย นี่มันไทยจริงๆ 1 0 1 1 0 0 0

เริ่มจากชุดแรก Alphanumeric ใช้ preg_match(‘/[^A-Za-z0-9]/’, $string เหมือนจะดูดี ตามคู่มือคือเทียบโดยตัวอักษร a ถึง z และตัวเลข 0 ถึง 9 แต่ขอโทษชุดสตริงค์ แปลกๆ ?!@#$%^&*()_-+=”{}[]\+:<>,./ มันยังผ่าน จนด้วยคำพูดจริงๆ ใส่อะไรก็ผ่าน

ชุดที่ 2 Alphanumeric English ใช้ preg_match(‘/^[a-zA-Z0-9\s]+$/’, $string) ผลคือ ที่มีอักษรไทยอยู่ตกหมด และ james bond 007 ผ่าน แต่ Apple Inc. กับตัวอื่นๆ ตกไปง่ายๆแค่ใส่ . สรุปถ้าเขียนเป็นประโยคมาก็จบชีวิต

ชุดที่ 3 Alphanumeric Thai ใช้ preg_match(‘/[^A-Za-z0-9-ก-๙]/’, $string) รั่วทุกตัวอักษรอีกชุก ถึงจะใส่ ก-๙ มาอักษรจีนก็ยังรอดอยู่ดี

ชุดที่ 4 Alphanumeric Thai Only ใช้ preg_match(‘/^[ก-ฮ\s]+$/’, $string) มันไทยมากจริง อย่าได้ใส่เลขอารบิกมาเชียว บางคนก็ไม่รู้นะครับว่าเลขไทยนะมันพิมพ์ยังไง

ชุดที่ 5 Email ใช้ filter_var($string, FILTER_VALIDATE_EMAIL) ตรวจว่าเป็นอีเมล์จริงๆ รึเปล่า ผ่าน email.gmail.com และ พิชญ์@gmail.com ก็หลอกมันไม่ได้

ชุดที่ 6 ติดใจคำสั่ง filter_var ในข้อที่แล้วใช้ filter_var($string, FILTER_VALIDATE_URL) ผลคือ เกือบจะดีแล้ว ตรวจ url ได้จริงๆ ยกเว้น https://pitt.plusmagi.com/เชื่อมต่อ-php-กับ-sql-server-sqlsrv/ link ของบล๊อคของผมเองยังไม่ผ่าน ปวดตับ แม้แต่ function สำเร็จรูปก็ไม่ได้ดีเสมอตามที่คิดว่า “ใช้กันมากเป็นมาตราฐานมันต้องดีกว่าเขียนเองซิ” function filter_var ของ PHP มันออกมาตั้งแต่ 2 November 2006 ก็แค่ไม่กี่ปีเองมั๊ง ปีนี้ ค.ศ. อะไรแล้ว แต่มันก็ยังไม่รับภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษอยู่เหมือนเดิม ไม่ใช่ไม่มีคนแจ้งไปที่คนเขียนภาษา php นะ ตามนี้ แต่พี่แกก็ยังไม่แก้แค่นั้นเอง

ชุดที่ 7 ใช้ preg_match(‘/\b(?:(?:https?|ftp):\/\/|www\.)[-a-z0-9+&@#\/%?=~_|!:,.;]*[-a-z0-9+&@#\/%=~_|]/i’, $string) ยาวยืดอย่าพิมพ์ผิดเชียว ผมก็ก๊อบเค้ามา แต่ตรวจ url ได้ถูกต้อง

ที่ทำตัวอย่างให้ดูสรุปคือ ในการเขียนโปรแกรมไม่มีอะไรที่ทำงานได้ดี 100% เต็ม ทำอย่างหนึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียม (รึเปล่า) ตามมาด้วยเสมอ อย่างตรวจ link แบบชุดที่ 6 จริงๆ มันตรวจว่าเป็นลิงค์เว็บจริงๆ มาได้หลายปีแล้ว แต่เว็บหลังๆ เน้นทำ SEO กับท้องถิ่นตามภาษาและประเทศมากขึ้นแทนที่จะใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียว ตอนนี้เลยต้องมาเขียนตัวตรวจสอบกันแบบยาวๆ และปวดตับมากกกก

การที่กว่าจะได้งานที่สมบูรณ์ที่สุดไกล้ความสมบูรณ์แบบถึงต้องใช้พลังและความร่วมมือจากทุกๆคน และมีค่าใช้จ่ายและเวลาที่สูงมาก ผลคือ การลดค่าใช้จ่ายอย่าง

  • บอกมานิดเดียว น้องไปคิดต่อเอาเองนะ พี่มางานอื่น (พี่ครับ ผมต้องเขียน business plan ต้องมาคิดให้ว่าบริษัทพี่นี่ มันขายอะไร ต้องทำยัง บริการอะไรบ้าง และมันทำงานยังไง สุดท้ายก็ออกมาขาดๆ เกินๆ)
  • ไม่จ้าง tester ครับ programmer เขียนเสร็จก็ต้องมาลองเอง เพราะว่าออกแบบและเขียนเองมากะมือ มันเลยจำติดอยู่ในสมองว่า ตรงนี้ต้องกรอกอะไร ตอนทดสอบ ก็เผลอทำแบบเดิม ทำมาให้กรอกตัวเลข ต้อนทดสอบก็ใส่ 1555, 5544, 444, 85 มัวๆไป ตอนให้ user ทำลองใช้ มีคนใส่โง่ๆ “100 บาท” เกิดอะไรขึ้น
    1. โปรแกรมก็เอา 100 บาท ไปใส่ในสูตร
      จำนวนบาท คูณจำนวน ก็ออกมาเป็น
      100บาท x 5 = ?
      แล้วก็บอกกลับมาว่า พ่องมึง คูณได้เหรอวะ แต่มันบอกมาแบบที่มีแต่โปรแกรมเมอร์ที่เข้าใจ แลัวฆ่าตัวตายไปต่อหน้าต่อตา
    2. บัญชีก็บอกว่า นี่ทำเสร็จแล้วเหรอ เทสแล้วแน่นะ
    3. คนเขียนเห็นก็อยากจะบอกว่า ข้างหลังใส่ label บาทให้ละ จะกรอกไปทำซากอะไร
    4. ทีนี้เกินอะไรขึ้นต่อไปในการประชุม
      • project manager ก็บอกว่านิดหนึ่งพี่ แก้ไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จแล้วครับ
      • programmer คิด มึงเคยถามกูยัง ทำไงต่อ ทำนานปะ แก้แล้วตรงไหนจะพังมั่ย แล้วอย่างอื่นมันจะทันป่าว
      • บัญชีของลูกค้าก็คิด ขี้เกียจเทสแน่ๆ เมื่อไหร่จะได้ใช้
      • เซลล์ก็คิด ทำไม่ไม่เอาใบส่งสินค้าที่เขียนกับมือ เข้าเครื่องถ่ายเอกสาร แล้วได้รายงานออกมาเลย ไม่เสียเวลา เอาไปขายให้ที่ไหนมีแต่คนอยากซื้อ ทำไม่ไม่ยอมทำ จะได้ขายง่ายๆ ซักที % จะได้เยอะๆ อุสาห์คิดให้ดีๆ ไม่เข้าใจ
      • ลูกค้า ก็คิด รู้งี้ยอมจ่ายอีกนิดจ้างอีกเจ้า ยอมไม่ไปเที่ยวเมืองนอกก็ได้ จะได้ทำอย่างอื่นซะที
    5. จ้างมาแพง ต้องรีบๆทำงาน ให้ได้ function ผลคือไม่ได้ test งานจริงๆ หรือให้มันใช้งานได้ง่าย อย่างงานที่เคยเจอต้องมีคนมา เอารูปถ่ายสินค้ามาตัดให้พอดีกับขนาดที่ใช้ในเว็บ ทั้งๆที่ ก็ถ่ายโดยกล้องเดิม ขนาดเดิม และมุมกล้องเดิมทุกวัน ทุกชิ้น ถ้ายอมให้เวลาเขียนโปรแกรมเพิ่มอีกนิด ก็แค่วางของที่เดิม กดถ่ายรูปแล้วโยนให้โปรแกรมมันตัดรูป เปลี่ยนขนาด แล้วเอาให้ลูกค้าดูเอง ประหยัดเวลาในชีวิตออกไปได้เยอะเลยแท้ๆ แต่พี่รีบ พี่ไม่อยากจ่ายเงินเพิ่ม

มันก็เหมือนคำพูดที่ว่า ของดีไม่แพง นั้นละครับ ยอมจ่ายได้แค่ไหน คนขายก็ประมาณ ต่อกันอย่างนี้ ขอฟรีเลยมั๋ยพี่ ที่สำคัญคือ จะหาจุดสมดุลย์ได้ที่ไหน ถึงจะพอใจกันทั้งสองฝ่าย

Byphunsanit

ปล่อบบิตกับ synology

ตัว Synology จะมี package ชื่อ “Download Station” ไว้ให้ใช้ สามารถโหลดไฟล์ต่างๆได้ดีพอสมควร แต่ปัญหาคือ มันปล่อยบิต upload อะไรให้เราไม่ได้เลย (สมชื่อดาวน์โหลดจริงๆ) แล้วเราจะเอาเรโช (จริงมันคือ ratio ตะหาก) มาจากไหน ปกติเน็ตบ้านปล่อยได้น้อยอยู่แล้วกลายเป็นไม่ได้เลย เพราะฉนั้นเราต้องเปลี่ยนให้มันสตรองค์

  1. ทำให้ติดตั้ง package ได้จากเจ้าอื่นได้นอกจากของ Synology ก่อน login เข้าไปที่หน้าจัดการของเราก่อน แล้วไปที่ Package Center กด Settings กด Package Sources กด Add ใส่ค่าต่อไปนี้ตามข้าพเจ้า
    • Name : SynoCommunity
    • Location : http://packages.synocommunity.com

    กด ok ปิด Setting ไปเลย

  2. ติดตั้ง ruTorrent โดยไปที่ Package Center ด้านข้างเลือนลงมาจะเห็น Community คลิก ด้านขวาเลื่อนหา ruTorrent กด Install ติดตั้งไปตามปกติ จนช่วงหนึ่งมันจะให้เราเปิด Web Service ไม่ต้องตกใจไปที่ Control Panel คลิก Web Services ติ๊ก Enable Web Station แล้วปิดไปได้เลย ลงต่อซักครู่ การลงก็เสร็จสิ้น ไปกด ลิงค์ ซ้ายมือ จะบอก URL ไปหน้าของ ruTorrent แต่มี error ไม่ต้องตกใจครับ
  3. แก้ง่ายมาก กลับไปที่หน้าก่อนเรากดลิงค์ ใต้ logo เลือกจาก Action เป็น Stop ก่อน
  4. เปิด SSH โดยไปที่ Control Panel คลิก Terminal & SNMP (ถ้าไม่เห็น มุมขวาบนกดเป็น Advance Mode ก่อน) ใน Terminal ติ๊ก Enable SSH service แล้วปิดได้
  5. โหลด PuTTY มาจาก http://www.putty.org แล้ว dubble click เปิดโปรแกรมขึ้นมาเลย ช่อง Host Name (or IP address) ใส่ ip ของ Synology ลงไป ถ้าไมรู้ก็เลขที่อยู่ด้านบนหน้าจัดการของ Synology ที่เป็น 192.168.1.69:8090/webman/index.cgi แต่ใส่แค่ 192.168.1.69 เข้าไปก็พอ กด open มันจะกลายเป็นหน้าตาดำๆ ไม่น่าคบ ไม่ต้องกลัว
    • มันจะถาม Login as :
    • พิมพ์ admin กดเอ็นเทอร์
    • มันจะถามกลับ
    • [email protected]’s password:
    • ใส่ password ตัวเดียวกับที่เราเข้าในส่วนการจัดการ
    • รอให้มันตอบซักครู่ พอนิ่งเห็น ช��่อเครื��องของเร�� ประมาณ Synology> นิ่งๆ แล้วก็พิมพ์
      chmod -R 755 /volume1/web
      chmod -R 777 /volume1/โฟลเดอร์ที่ไว้โหลด
      

      (ตัวเล็กตัวใหญ่ต้องตรงกัน) แล้วเอ็นเตอร์ ถ้ามันกลับมาถาม Synology> ให้ปิด putty ไปได้เลย

    • กลับไปที่ package Center เปลี่ยน ruTorrent เป็น Active ก็จะใช้ทุกอย่างได้แล้วมีความสุขในโลกแห่งการแบ่งปันได้แล้วครับ

ดูเพิ่มเติม

Byphunsanit

คิดอีกนิด

เคยมีคนถามผมว่าทำไมซื้อทีวีแพงเร็วมาก ทีซื้อคอมมาทำงานคิดแล้วคิดอีก เหมือนไทยมีสุภาษิตที่เป็นสัจจะนิรันดร์อยู่บนหนึ่งคือ เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย การตอบต้องดูเป็นข้อๆ ครับ

  1. อย่างแรกเลยคือ ชอบดูจอใหญ่ แปลว่ามีตัวเลือก 3 ตัวคือทีวีแบบพลาสม่า เอลซีดี โปรเจคเตอร์
    • โปรเจ็คเตอร์จอใหญ่ที่สุด ด้องปิดไฟดูตลอด ร้อน กินที่ (ต้องมีบริเวณที่ไม่บังแสง) ต้องรอนานกว่าจะได้ดู หลอดขาดง่าย ไม่สะดวก แถมแพงที่สุด เลยตกไป
    • พลาสมา ถูกที่สุดในสามตัว ราคาประมาณ 8,000 ก็ได้ตามขนาดที่ต้องการ
    • เอลซีดี ราคา 13,000

    ถ้าดูราคา ต้องบอกว่าพลาสม่าซิ แต่มีต้นทุนแฝงอยู่ครับ

    • พลาสมา กินไฟมากกว่า
    • พลาสมาตัวใหญ่กว่ามาก เปลืองที่วาง
    • พลาสมาหนักกว่ามาก ใครไม่เคยยกจะคิดไม่ถึงเลย ไม่ต้องพูดถึงเวลาย้ายเหมือนขนหินดีๆ นี่เองครับ
    • พลาสมาอายุสั้นกว่ามาก คือ 40,000 ชั่วโมง เอลซีดี อายุประมาณ 50,000 ข้อมูลตรงกันทั้งคนขายและบริการตอบคำถามของยายู Which lasts longer? LCD or Plasma? คงจะจริง
    • พลาสมาเตี้ยกว่า ถ้าจะให้พอดีกับตียงต้องซื้อชั้นวางทีวีเพิ่ม ต้องบวกราคาไปอีก 2000+ เพราะมันหนักโต๊ะถูกๆ ไม่โย้ก็หัก
    • เอลซีดีเบา แถมมีขาตั้งมาให้ ถ้าไม่อยากซื้อโต๊ะญี่ปุ่นตัวสามร้อยก็เอาอยู่ เกะกะนักก็ซื้อที่แขวนมันซะ ( +1,200 ทำไมแพงจัง)
    • เอลวีดี สวย ดูดี ทันสมัยกว่า พลาสมาดูยังไงก็กล่องดีๆ นี่เอง
    • เอลซีดีต่อข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ดีกว่าทั้งภาพและเสียง เพราะ มีช่องต่อเฉพาะ จะดูหนังจากแฟลตไดร์ฟเลยก็ได้

    ถึงรวมๆ แล้วพลาสมา (8,000 + 2,500 ) ราคาจะถูกกว่าแต่เมื่อคิดรวมด้านอื่นๆ ทั้งหมดแล้ว ระยะสั้นตอนจ่ายเงิน ระยะยาว เวลาใช้จริง ยังไงก็เอลซีดีครับ

  2. ส่วนอีกข้อคือเพราะทีวีซื้อง่ายกว่าเพราะ ดูความละเอียดของจอ ขนาดหน้าจอ รูปทรง อย่างอื่นไม่ต่างกันนัก แต่คอมพิวเตอร์ เอามาทำงานวันหนึ่งอาจจะต้องอยู่กับมัน 4 ,10 ,18 ชั่วโมง หรือมากกว่าถ้างานด่วนมาก แล้วแต่ละเครื่องก็มีอะไรที่ต้องตัดสินใจ หน้าจอเล็ก/ใหญ่ อันนี้แรงแต่หนักไป หี้ห้อนี้สวยเบาแต่แพงถึงแพงมาก ตัวนี้ชิ้นส่วนไม่ดี อันนี้รุ่นใหม่กว่า แพงกว่า แต่ช้ากว่าก็มี ต้องเปิดคู่มือดูเอาครับ ถ้าจะซื้อแบบไม่เสียใจภายหลัง