Tag Archive usb

Byphunsanit

WSL: mount linux disk

วิธีทำให้ WSL: Windows Subsystem for Linux มองเห็น hard disk ที่สร้างไว้เป็น Linux partition และสามารถใช้ได้เหมือนกับว่าเป็น disk ของตัว windows เอง

  1. เริ่มจาก list hard disk โดยใช้ Windows PowerShell as an Administrator

    GET-CimInstance -query “SELECT * from Win32_DiskDrive”

    จะเห็นรายชื่อ hard disk ที่มีอยู่ในเครื่อง เช่น \\.\PHYSICALDRIVE1 WD My Book 25EE USB Device 1 0659787734 WD My Book 25EE USB Device . ให้ดูที่ DeviceID ในบรรทัดนี้คือ \\.\PHYSICALDRIVE1 คือ <DiskPath> ที่จะนำมาใช้ อ้างอิง
  2. mount disk โดยรูปแบบ wsl –mount <DiskPath> เช่น

    wsl –mount \\.\PHYSICALDRIVE1 –bare

    บางครั้ง จะมี error
    The disk ‘\\.\PHYSICALDRIVE1‘ is already attached.
    Error code: Wsl/Service/AttachDisk/WSL_E_DISK_ALREADY_ATTACHED
    เกิดจาการที่ hard disk ลูกนี้เคย mount เอาไว้แล้ว
  3. ทดลอง list hard disk และ partition ใน Linux command ( Ubuntu )

    lsblk

    จะเห็น partition name เช่น sda, sdb, sdc, sdd
  4. mount partition แรกใน Windows PowerShell as an Administrator โดยคำสั่ง

    wsl –mount \\.\PHYSICALDRIVE1 –partition 1

    จะมีข้อความตอบกลับมาเช่น

    The disk was successfully mounted as ‘/mnt/wsl/PHYSICALDRIVE1p1‘.
    Note: The location will be different if you have modified the automount.root setting in /etc/wsl.conf.
    To unmount and detach the disk, run ‘wsl.exe –unmount \\.\PHYSICALDRIVE1’.
  5. เข้าไปดู ไปใช้ไฟล์ได้ใน \\wsl.localhost\Ubuntu\mnt\wsl\PHYSICALDRIVE1p1 ถ้า wsl ของเราชื่อ Ubuntu และ path ที่ mount ไว้คือ /mnt/wsl/PHYSICALDRIVE1p1
  6. เมื่อใช้เสร็จแล้ว ควรเอาออกไปโดยใช้คำสั่ง wsl –unmount <DiskPath> เช่น

    wsl –unmount \\.\PHYSICALDRIVE1

ในครั้งต่อไป ถ้าทราบ แล้ว สามารถเริ่มที่ ขั้นตอนที่ 4 ได้เลยครับ หรือถ้าใช้บ่อย ๆ ก็ระบุชื่อโดยใช้

wsl –mount –name myDisk
* ใช่ – – สองตัวทุกจุดนะครับ ไม่ใช่ – เดียว
อ่านเพิ่มเติม

Byphunsanit

สร้าง USB Boot ง่ายๆ กับ ventoy

นอกจากลง windows ผ่าน usb ที่ microsoft จะทำตัวติดตั้งให้โหลดจากเว็บตัวเองแล้วลง usb ไม่ต้องใช้ cd dvd เหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่ถ้าจะลง windows หลาย version หรือจะลง linux จะลงตัวสแกนไวรัส ปกติมันก็ใช้ flash drive ตัวละอัน รกกว่า dvd หลายอีก

หลังจากลองมาหลายตัวอย่าง Rufus, YUMI จนได้เจอกับตัวที่ถูกใจ ใช้ง่ายมากๆ คือ ventoy ที่ตอบโจทย์มากๆ คือ ลงได้หลาย os หลาย iso โดยใช้แค่ usb อันเดียว เพิ่มลด iso แค่ลบ วาง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษ จะทำใน windows ก็ได้ windows พังก็ใช้ linux ทำก็ได้

  1. โหลดตัวติดตั้งได้จากเว็บ https://www.ventoy.net/en/download.html โดยมีให้เลือก windows / linux / live cd
  2. โหลด windows 10, xp, 7 ตัวที่ชอบ, linux, Hiren’s BootCD PE, ตัวแสกนไวรัส อะไรก็แล้วแต่ไปพลางๆ ขอแค่เป็นไฟล์ iso เป็นอันใช้ได้
  3. หา usb flash drive sd card หรือ harddisk ที่ชะตาขาดเพราะว่ามันจะต้องโดนลบข้อมูลข้างในทั้งหมด เลือกเอาที่มันจุหน่อย ตอนนี้ตัว 32GB ไม่กี่ร้อยละ จะได้ลงได้หลายๆ ตัว เสียบเข้าเครื่องรอเอาไว้
  4. แตก zip ไฟล์ออกมาทั้ง folder
  5. ดับเบิลคลิกตรง Ventoy2Disk จะเห็นโปรแกรมหน้าตาบ้านๆ ไม่มีอะไรเลยจริงๆ เพราะมันใช้ง่ายมาก
  6. เลือก device ( usb ) อันโชคร้ายของเรา ( เลือกให้ถูกนะเพราะมันจะโดนลบเกลี้ยง ) ถ้าไม่เห็นคลิกวงเขียวๆ ด้านหลัง
  7. กด Install แค่นี้ละ
  8. หลายคนคงจะงงแล้วที่โหลด windows เอาไว้ละ เปิดดูใน File Explorer จะเห็น drive ใหม่ชื่อ Ventoy เพิ่มขึ้นมาให้เอา iso ที่โหลดเอาไว้ทั้งหมด วางไว้ในนี้เป็นอันเสร็จ

ทดสอบโดยการตั้งให้เครื่องของเรา boot จาก usb อันที่ทำไว้ จะเห็นชื่อไฟล์ iso ที่เราโหลดมา เลือกตัวที่ต้องการจะใช้ติดตั้งได้เหมือน usb แยกเฉพาะตัวเลย

ความดีงามของ Ventoy คือเวลา windows ออกเวอร์ชั่นใหม่ขึ้นมา ก็แค่โหลด iso ตัวใหม่มาวางใน dirve เดิม ถ้ามันเก่าแล้วหรือพื้นที่ไม่พอแล้วก็แค่ลบอันที่ไม่ใช้ออก ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ ไม่ต้องใช้ Ventoy มาทำอะไรด้วยซ้ำไป

Byphunsanit

ลง kali จาก usb

โดยปกติตัว linux จะลงยากกว่า os ระบบอื่น ใครเคยลง windows มาโดยเฉพาะ windows 10 แล้วจะงงกับหน้าจอการติดตั้ง ถึงตอนหลังจะมีการพยามทำหน้าตาเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้นก็ตาม แต่ยังยากสำหรับมือใหม่ๆ อยู่ดี

โดยปกติเวลาที่ผมลง linux หรือ windows จะใช้โปรแกรม YUMI – Multiboot USB Creator ทำ usb ให้ติดตั้งแทนแผ่น cd / dvd ได้ (เครื่อง notebook ที่ใช้เครื่องหลังๆ มันไม่มีเครื่องอ่านแผ่นติดมาให้แล้ว แผ่นก็หาซื้อยากขึ้นทุกวัน) แต่ตัว yumi ไม่สามารถทำ usb boot จาก flash drive กับตัว Kali Linux (เพื่อนตั้งชื่อเล่นให้ว่า กาลี ) ได้เขียน image ลงไปแล้วสามารถใช้เป็น linux live cd / live dvd แต่กลับไม่สามามารถติดตั้งโดยใช้เมนู installer ตัวไหนที่มีมากับ iso ติดตั้งจนใช้งานได้จริงๆได้เลย แม้แต่การเขียนลงบนแผ่น DVD จริงๆ ก็ติดตั้งไม่สำเร็จ

ผมทดลองโปรแกรม bootable usb หลายตัวจนเจอ Rufus ที่ทำงานได้สำเร็จ โดยต้องมีการ config แบบพิเศษกันเล็กน้อยโดย

Device
เลือก usb drive เปล่าๆ ที่ต้องการใช้เป็นตัวติดตั้ง kali linux (ข้อมูลข้างในจะโดน format ลบออกไปจนหมด ให้ย้ายไฟล์ที่สำคัญๆ ออกไปก่อนที่จะกดอะไรต่อไป)
Partitition scheme and target system type
เลือกให้ตรงกับระบบของเครื่องที่ใช้ ของผมเลือกเป็น GPT parttion scheme for UEFI
File system
เปลี่ยนเป็น NTFS
Format Option
เลือก Quick format ก็พอ
Create a bootable disk using
เลือก iso และคลิกภาพ cd drive ด้านหลัง browse kali linux ที่โหลดมาจาก Kali Linux Downloads

กด Start ได้เลย จะมี bock ขึ้นมาถาม ให้เลือกWrite in DD Image mode จะทำให้ไม่เจอ message Debootstrap error Failed to determine codename for the release

จากนั้น reboot เครื่องเลือกใน bios ให้ boot จาก usb ถ้าไม่รู้ว่ากดปุ่มไหนดูได้จาก Hot keys for BootMenu / BIOS Settings เครื่องผมกลับต้องเลือก flash drive จาก LEGACY BOOT แทน UEFI BOOT ซะงั้น ลง kali ไปตามปกติ ระวังเรื่อง partion ให้ดี ถ้าไม่อยากลบข้อมูลสำคัญๆ ที่มีอยู่เดิม หลังติดตั้งเสร็จแล้วแก้ปัญหาภาษาไทยเป็นสี่เหลี่ยมโดยใช้คำสั่ง

sudo apt-get install xfonts-thai msttcorefonts

(เกือบลงใหม่ เพราะคิดว่าติดตั้งไม่สมบูรณ์ ดีที่เห็นจากคนอื่นซะก่อน) และถ้ายังใช้ windows เป็นหลักให้อ่าน ตั้งให้เข้า windows แทน linux เสร็จแล้วใช้เจ้า kali อย่างมีสตินะครับ

Byphunsanit

ลง windows / linux ผ่าน usb

notebook สมัยนี้หลายๆเครื่องไม่มี drive dvd / cd ติดมาแล้ว ขณะเดียวกัน flash drive มันถูกมากแค่อันละ 200 ก็พอที่จะใช้ลง windows xp, windows 7, windws 8, windows 10, linux แถม linux อีกตัวก็ยังได้เลย

เพิ่ม os / boot cd ได้โดย

  1. เตรียมไฟล์ iso ของ os ที่ต้องการจะติดตั้ง ถ้ายังไม่มีก็ download มาจาก
    windows 10
    ดาวน์โหลด Windows 10
    kali linux
    Kali Linux Downloads
    Linux Mint
    Download Linux Mint 18 Sarah
    Hiren’s BootCD
    Hiren’s BootCD 15.2
    MiniTool® Partition Wizard 9
    MiniTool Partition Wizard Free Edition
  2. ระหว่างรอ download ไป download MultiBootUSB จาก http://multibootusb.org/ หรือ mbusb/multibootusb
  3. เปิดโปรแกรม MultiBootUSB ขึ้นมา
  4. Step 1 เลือก drive จากด้านขวามือ
  5. Step 2 Browse ISO เลือกไฟล์ Browser ที่ต้องการ
  6. Step 3 คลิก Create
  7. ถ้ามี alert ประมาณ Sorry. xxx is not supported at the moment Please email this issue to [email protected]
  8. จะมี folder ถูกสร้างขึ้นมาใน flash drive เช่น F:\multibootusb\kali-linux-2016.2-amd64F:\multibootusb\kali-linux-2016.2-amd64

ถ้าต้องการเพิ่มตัวติดตั้งหรือลบออกไปก็สามารถนำ flash drive มาเสียบกับคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ ไม่ต้องเป็นเครื่องเดิมในครั้งแรก จะเห็นรายชื่อ ด้านซ้ายมือ สามารถเลือกและคลิก Uninstall Distro เพื่อลบออกไป หรือถ้าต้องการเพิ่มเข้าไปใหม่ ก็ download มาแลัวเริ่ม Step 1 อีกครั้ง