โดยปกติตัว linux จะลงยากกว่า os ระบบอื่น ใครเคยลง windows มาโดยเฉพาะ windows 10 แล้วจะงงกับหน้าจอการติดตั้ง ถึงตอนหลังจะมีการพยามทำหน้าตาเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้นก็ตาม แต่ยังยากสำหรับมือใหม่ๆ อยู่ดี
โดยปกติเวลาที่ผมลง linux หรือ windows จะใช้โปรแกรม YUMI – Multiboot USB Creator ทำ usb ให้ติดตั้งแทนแผ่น cd / dvd ได้ (เครื่อง notebook ที่ใช้เครื่องหลังๆ มันไม่มีเครื่องอ่านแผ่นติดมาให้แล้ว แผ่นก็หาซื้อยากขึ้นทุกวัน) แต่ตัว yumi ไม่สามารถทำ usb boot จาก flash drive กับตัว Kali Linux (เพื่อนตั้งชื่อเล่นให้ว่า กาลี ) ได้เขียน image ลงไปแล้วสามารถใช้เป็น linux live cd / live dvd แต่กลับไม่สามามารถติดตั้งโดยใช้เมนู installer ตัวไหนที่มีมากับ iso ติดตั้งจนใช้งานได้จริงๆได้เลย แม้แต่การเขียนลงบนแผ่น DVD จริงๆ ก็ติดตั้งไม่สำเร็จ
ผมทดลองโปรแกรม bootable usb หลายตัวจนเจอ Rufus ที่ทำงานได้สำเร็จ โดยต้องมีการ config แบบพิเศษกันเล็กน้อยโดย
- Device
- เลือก usb drive เปล่าๆ ที่ต้องการใช้เป็นตัวติดตั้ง kali linux (ข้อมูลข้างในจะโดน format ลบออกไปจนหมด ให้ย้ายไฟล์ที่สำคัญๆ ออกไปก่อนที่จะกดอะไรต่อไป)
- Partitition scheme and target system type
- เลือกให้ตรงกับระบบของเครื่องที่ใช้ ของผมเลือกเป็น GPT parttion scheme for UEFI
- File system
- เปลี่ยนเป็น NTFS
- Format Option
- เลือก Quick format ก็พอ
- Create a bootable disk using
- เลือก iso และคลิกภาพ cd drive ด้านหลัง browse kali linux ที่โหลดมาจาก Kali Linux Downloads
กด Start ได้เลย จะมี bock ขึ้นมาถาม ให้เลือกWrite in DD Image mode จะทำให้ไม่เจอ message Debootstrap error Failed to determine codename for the release
จากนั้น reboot เครื่องเลือกใน bios ให้ boot จาก usb ถ้าไม่รู้ว่ากดปุ่มไหนดูได้จาก Hot keys for BootMenu / BIOS Settings เครื่องผมกลับต้องเลือก flash drive จาก LEGACY BOOT แทน UEFI BOOT ซะงั้น ลง kali ไปตามปกติ ระวังเรื่อง partion ให้ดี ถ้าไม่อยากลบข้อมูลสำคัญๆ ที่มีอยู่เดิม หลังติดตั้งเสร็จแล้วแก้ปัญหาภาษาไทยเป็นสี่เหลี่ยมโดยใช้คำสั่ง
sudo apt-get install xfonts-thai msttcorefonts
(เกือบลงใหม่ เพราะคิดว่าติดตั้งไม่สมบูรณ์ ดีที่เห็นจากคนอื่นซะก่อน) และถ้ายังใช้ windows เป็นหลักให้อ่าน ตั้งให้เข้า windows แทน linux เสร็จแล้วใช้เจ้า kali อย่างมีสตินะครับ