Tag Archive Install

Byphunsanit

การติดตั้ง Moodle ขั้นพื้นฐาน

การติดตั้ง Moodle เพื่อสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เป็นเรื่องที่ไม่ยากกว่าการติดตั้ง CMS ทั่ว ๆ ไปอย่าง Joomla หรือ Moodle เพียงแต่ต้องมีข้อกำหนดพื้นฐานบางอย่างต่างออกไปเล็กน้อย

  1. Download appserv จาก http://www.appservnetwork.com จากนั้นติดตั้งไปตามปกติ
  2. Download version ล่าสุดจาก http://download.Moodle.org/
  3. ระหว่างรอไปสร้าง database เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานโดยเวอร์ชั่น 1.9.9 สามารถใช้ MySQL 4.1.16 ขึ้นไป Postgres 8.0 ขึ้นไปหรือ MSSQL 9.0 or Oracle 9.0 เราจะใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูลเพราะ ฟรี ดี ติดมากับ appserv แล้ว (อันนี้สำคัญ) เปิด phpmyadmin พิมพ์ชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการลงใน Create new database  ( สร้างฐานข้อมูลใหม่ ) เลือก COLLATE เป็น utf8_unicode_ci เพื่อให้รอบรับหลายภาษา หรือถ้าสะดวกจะใช้สั่ง
    CREATE DATABASE Moodle;
    ALTER DATABASE Moodle DEFAULT CHARACTER SET utf8 COLLATE utf8_unicode_ci;

    Moodle คือชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นก็ได้
  4. แก้ config apache เข้าไปที่ folder c:\apache\conf เปิดไฟล์ httpd.conf แก้ AcceptPathInfo เป็น on เพื่อให้สามารถส่งตัวแปรแบบ google friendly ได้ ( http://server/file.php/arg1/arg2 ) ถ้าไม่มีตัวแปรนี้เพราะไม่ได้ลง curl ไว้ก็ให้ข้ามไป
  5. แก้ php.ini ถ้าลง appserv จะอยู่ใน c:windows ส่วน xampp อยู่ที่ xampp/php ตามนี้
    register_globals = 0 ; ( บังคับ )
    safe_mode = 0; ( บังคับ )
    memory_limit = 40M; ( ขั้นต่ำ 40M Moodle ตั้งแต่ version 1.8 เป็นต้นไป ถ้าทำระบบใหญ่ตั้ง 128M )
    magic_quotes_runtime = 0; ( บังคับ )
    file_uploads = 1; ( หรือมากกว่า )
    session.auto_start = 0; ( บังคับ )
    session.bug_compat_warn = 0
    post_max_size = 16M
    upload_max_filesize = 16M ( ต้องใหญ่กว่าขนาด scorm ที่จะ upload ขึ้นไป )
  6. แตกไฟล์ ติดตั้ง Moodle โดยเรียก http://localhost/Moodle folder/install.php
  7. เลือก Language เป็น thai ( th ) กดต่อไป
  8. ตรวจสอบการตั้งค่า PHP ถ้าเสดงสำเร็จให้กดต่อไป ถ้าไม่สำเร็จแสดงว่าติดตั้ง php extension ไม่ครบ ( ลง appserv หรือ xampp จะไม่มีปัญหาส่วนนี้ )
  9. ระบุที่ตั้งของการติดตั้ง Moodleโดย
    1. ที่อยู่ของเว็บ คือ url ที่ใช้เรียก Moodle
    2. Moodle ไดเรกทอรี คือ folder ที่ติดตั้ง Moodle อันนี้ไม่ต้องแก้
    3. ไดเรกทอรีข้อมูล อันนี้มักเข้าใจผิดกันบ่อย มันคือ folder ที่ไว้เก็บไฟล์ สื่อการเรียนการสอน ที่ upload ไปแต่ละวิชา หรือแตกออกมาจาก SCORM ไม่ใช้ folder เก็บข้อมูลของ database อันนี้ต้องสร้าง folder ใหม่แล้ว copy path มาวางไว้เอง

    กดต่อไป

  10. ตั้งค่าฐานข้อมูล
    1. ประเภท เป็น MySQL
    2. โฮสต์เซิร์ฟเวอร์ เป็น localhost
    3. ฐานข้อมูล ระบุชื่อฐานข้อมูลที่สร้างในขั้นตอนที่ 3
    4. สมาชิก คือ ชื่อ username ที่ใช้ login database
    5. รหัสผ่าน คือ password ที่ใช้ login database
    6. คำนำหน้าตาราง ( Table Prefix ) คือ ส่วนที่จะแยกตารางฐานข้อมูลของ Moodle ออกจากของตัวอื่นถ้าใช้ร่วมกัน หรือถ้ามี Moodle อยู่แล้วแต่อยากจะให้ แยกกันระหว่างตัวเก่าและตัวใหม่ สามารถแก้คำนำหน้าส่วนนี้ได้ โดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษและ _ เท่านั้น

    กดต่อไป

  11. ตรวจสอบเวิร์ฟเวอร์ ถ้ามีการเตือนให้ตรวจสอบ curl ไม่ต้องสนใจ ส่วนประกอบอื่นๆ ถ้าสูงกว่าที่แนะนำถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ กดต่อไป
  12. ดาวน์โหลดไฟล์ภาษา ไทยเพิ่มเติม หรือข้ามไว้กลับมาโหลดเพิ่มเติมจาก http://download.moodle.org/lang16/th_utf8.zip นำไปว่าในไดเรกทอรีข้อมูล/lang ในครั้งหน้า กดต่อไป
  13. ตั้งค่าตัวแปรเสร็จสิ้นแล้ว ตัวติดตั้งจะสร้างไฟล์ config.php ขึ้นมาใหม่ ถ้าลบไฟล์นี้จะสามารถใช้งานตัวติดตั้งได้อีกครั้ง หรืออาจจะสร้างขึ้นมาเองโดยดูตัวอย่างจาก config-dist.php กดต่อไป การติดตั้งก็จะเสร็จสมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม