Monthly Archive 2016-12-11

Byphunsanit

ลง ubuntu ใน windows แบบ subsystem

หนึ่งในความประหลาดของ windows 10 คือ มันสามารถลง linux ไว้ในตัวของมันได้แบบไม่ใช้ virtual server หรือ duel boot แต่ Microsoft เรียกมันว่า subsystem โดยเป็น linux ที่ได้มาจากพันธมิตร Ubuntu (ไม่เคยคิดเลยว่า 2 เจ้านี้จะทำงานร่วมกันได้)

สาเหตุที่ควรเพิ่ม linux เข้ามาในเครื่อง เพราะว่า php จริงๆแล้วมันเหมาะกับ linux มากกว่า แต่เพราะในการทำงานใน office เรายังจำเป็นจะต้องติดต่อกับ user อื่นๆ ที่เค้าใช้ windows และโปรแกรมที่ใช้ติดต่อกันมักจะเป็นโปรแกรมที่ทำงานได้แต่บน windows ซะส่วนใหญ่ การที่จะต้อง boot กลับไปกลับมาเพิ่ออ่านเอกสารซักตัวมันคงไม่สดวกจะลง visuals machine อย่าง oracle virtualbox , vmware ก็หนักเครื่อง และไม่สดวกที่จะใช้ docker

การติดตั้ง

    1. เครื่องต้องเป็น windows 10 64 bit Version 1607 ขึ้นไป (ถ้าไม่ได้ปิด update และเครื่องต่ออินเตอร์เน็ตมี version มากกว่าตัวนี้อยู่แล้ว)
    2. เปิด settings app (รูปเฟืองที่เมนูบนปุ่ม shutdown) > Update & Security > For Developers เลือก Developer Mode.
    3. ไปที่ control panel > Programs > Turn Windows Features On or Off ติ๊ก Windows Subsystem for Linux (Beta) คลิก ok แล้ว restart
    4. Search bash แล้ว enter
    5. จะเห็นข้อความ
      -- Beta feature --
      This will install Ubuntu on Windows, distributed by Canonical
      and licensed under its terms available here:
      https://aka.ms/uowterms
      Type "y" to continue:
      

      พิมย์ y แล้ว เอ็นเตอร์

รอให้มันติดตั้ง จะเห็นข้อความ

Downloading from the Windows Store... 100%
Extracting filesystem, this will take a few minutes...
Please create a default UNIX user account. The username does not need to match your Windows username.
For more information visit: https://aka.ms/wslusers
Enter new UNIX username:

ใส่ user และใส่ password หลัง Enter new UNIX password: และ Retype new UNIX password: ไม่ต้องเหมือนที่ใช้ใน windows เอาตัวเลขง่ายๆก็ได้ รอข้อความ

passwd: password updated successfully
Installation successful!
The environment will start momentarily...
Documentation is available at:  https://aka.ms/wsldocs
pitt@xxx:/mnt/c/Windows/System32$

เสร็จแล้วไฟล์จะถูกเขียนไว้ที่ ไฟล์จะถูกเขียนไว้ที่ %USERPROFILE%\AppData\Local\lxss

    1. ทดสอบโดยคำสั่ง sudo apt-get update

Linux ใน windows พร้อมรับใช้แล้วครับ ไม่ยากเลย แล้วไปต่อกันที่ด่านต่อไป ลง Nginx, MariaDB, PHP And phpMyAdmin ใน linux subsystem

อ่านเพิ่มเติม