Tag Archive Install

การติดตั้ง PHP บน IIS

มีความจำเป็นบางอย่างที่ทำให้ต้องลง PHP ใน Internet Information Services (IIS) แทน apache / xampp ตามปกติ แต่จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ติดตั้งยากอะไร แค่มีวิธีการที่ต่างไปจากปกติเท่านั้นเอง

ขั้นตอนการติดตั้้ง

  1. download Web Platform Installer มาติดตั้งก่อน
  2. เปิดโปรแกรม Microsoft Web Platform Installer
  3. มุมขวาบนจะมีช่องให้ search หาส่วนติดตั้งที่ต้องการ เช่น PHP 7.4 โดยมีเคล็ดลับคือ ถ้าต้องลง sql server driver ด้วยให้หา Microsoft Drivers for PHP ที่มี version สูงมากที่สุดก่อน เพราะบางครั้งมี PHP version ใหม่มาแล้วแต่ไม่มี sql driver ให้เลือก เมื่อได้ที่ต้องการแล้วให้คลิก add ไว้ก่อน จากนั้นก็ไปหาส่วนที่ต้องการอื่น ๆ ต่อไปเช่น Web Platform Installer ต้องใช้ในการ rewrite url ใน iis
  4. เมื่อได้ครบแล้วคลิก Install
  5. คลิก I Accept
  6. ปิดโปรแกรมเมื่อไม่ต้องการติดตั้งเพิ่มเติมแล้ว

php จะถูกติดตั้งอยู่ใน C:\Program Files\PHP แยกตาม php version เช่น v7.3 โดยจะมี php.ini และ extension ต่างๆ แยกออกมาต่างหาก โดยในบรรทัดล่าง ๆ จะมี [PHP_WINCACHE] หรือ [ExtensionList] บอกตำแหน่งที่เกี่ยวกับ php / zend entension ที่ได้ถูกติดตั้งเอาไว้

เซ็ต JAVA_HOME

ตัวอย่างการตั้งค่า system variables สำหรับการชี้ Java Development Kit (JDK) ที่ติดตั้งในเครื่อง

  1. ในช่องค้นหาพิมย์ว่า edit environment variables for your account
  2. คลิกรายการแรกที่เจอ
  3. ด้านล่าง System variables คลิก New..
  4. ช่อง Variable name: ใส่ JAVA_HOME
  5. ช่อง Variable value: ใส่ path jdk ที่ติดตั้งไว้ เช่น C:\Program Files\Java\jdk1.7.0_80
    Note: อย่าใส่ \bin ลงไปในขั้นตอนนี้
  6. คลิก OK
  7. คลิก Variable ที่ชื่อ Path เพิ่ม %JAVA_HOME%\bin ลงไป ถ้าเป็น windows เก่ากว่า windows 10 ใช้ ; คั่นกับรายการอื่นๆ
    Note: ตัวแปรนี้จะทำให้สามมารถใช้ java commands ได้จากทุกที่
  8. คลิก OK
  9. คลิก OK
  10. ทดสอบโดยการเปิด command ขึ้นมาใหม่ พิมย์
    java -version
    จะเห็นข้อความประมาณ
    java version "1.7.0_80"
    Java(TM) SE Runtime Environment (build 1.7.0_80-b15)
    Java HotSpot(TM) 64-Bit Server VM (build 24.80-b11, mixed mode)

ลง kali จาก usb

โดยปกติตัว linux จะลงยากกว่า os ระบบอื่น ใครเคยลง windows มาโดยเฉพาะ windows 10 แล้วจะงงกับหน้าจอการติดตั้ง ถึงตอนหลังจะมีการพยามทำหน้าตาเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้นก็ตาม แต่ยังยากสำหรับมือใหม่ๆ อยู่ดี

โดยปกติเวลาที่ผมลง linux หรือ windows จะใช้โปรแกรม YUMI – Multiboot USB Creator ทำ usb ให้ติดตั้งแทนแผ่น cd / dvd ได้ (เครื่อง notebook ที่ใช้เครื่องหลังๆ มันไม่มีเครื่องอ่านแผ่นติดมาให้แล้ว แผ่นก็หาซื้อยากขึ้นทุกวัน) แต่ตัว yumi ไม่สามารถทำ usb boot จาก flash drive กับตัว Kali Linux (เพื่อนตั้งชื่อเล่นให้ว่า กาลี ) ได้เขียน image ลงไปแล้วสามารถใช้เป็น linux live cd / live dvd แต่กลับไม่สามามารถติดตั้งโดยใช้เมนู installer ตัวไหนที่มีมากับ iso ติดตั้งจนใช้งานได้จริงๆได้เลย แม้แต่การเขียนลงบนแผ่น DVD จริงๆ ก็ติดตั้งไม่สำเร็จ

ผมทดลองโปรแกรม bootable usb หลายตัวจนเจอ Rufus ที่ทำงานได้สำเร็จ โดยต้องมีการ config แบบพิเศษกันเล็กน้อยโดย

Device
เลือก usb drive เปล่าๆ ที่ต้องการใช้เป็นตัวติดตั้ง kali linux (ข้อมูลข้างในจะโดน format ลบออกไปจนหมด ให้ย้ายไฟล์ที่สำคัญๆ ออกไปก่อนที่จะกดอะไรต่อไป)
Partitition scheme and target system type
เลือกให้ตรงกับระบบของเครื่องที่ใช้ ของผมเลือกเป็น GPT parttion scheme for UEFI
File system
เปลี่ยนเป็น NTFS
Format Option
เลือก Quick format ก็พอ
Create a bootable disk using
เลือก iso และคลิกภาพ cd drive ด้านหลัง browse kali linux ที่โหลดมาจาก Kali Linux Downloads

กด Start ได้เลย จะมี bock ขึ้นมาถาม ให้เลือกWrite in DD Image mode จะทำให้ไม่เจอ message Debootstrap error Failed to determine codename for the release

จากนั้น reboot เครื่องเลือกใน bios ให้ boot จาก usb ถ้าไม่รู้ว่ากดปุ่มไหนดูได้จาก Hot keys for BootMenu / BIOS Settings เครื่องผมกลับต้องเลือก flash drive จาก LEGACY BOOT แทน UEFI BOOT ซะงั้น ลง kali ไปตามปกติ ระวังเรื่อง partion ให้ดี ถ้าไม่อยากลบข้อมูลสำคัญๆ ที่มีอยู่เดิม หลังติดตั้งเสร็จแล้วแก้ปัญหาภาษาไทยเป็นสี่เหลี่ยมโดยใช้คำสั่ง

sudo apt-get install xfonts-thai msttcorefonts

(เกือบลงใหม่ เพราะคิดว่าติดตั้งไม่สมบูรณ์ ดีที่เห็นจากคนอื่นซะก่อน) และถ้ายังใช้ windows เป็นหลักให้อ่าน ตั้งให้เข้า windows แทน linux เสร็จแล้วใช้เจ้า kali อย่างมีสตินะครับ

ลง ubuntu ใน windows แบบ subsystem

หนึ่งในความประหลาดของ windows 10 คือ มันสามารถลง linux ไว้ในตัวของมันได้แบบไม่ใช้ virtual server หรือ duel boot แต่ Microsoft เรียกมันว่า subsystem โดยเป็น linux ที่ได้มาจากพันธมิตร Ubuntu (ไม่เคยคิดเลยว่า 2 เจ้านี้จะทำงานร่วมกันได้)

สาเหตุที่ควรเพิ่ม linux เข้ามาในเครื่อง เพราะว่า php จริงๆแล้วมันเหมาะกับ linux มากกว่า แต่เพราะในการทำงานใน office เรายังจำเป็นจะต้องติดต่อกับ user อื่นๆ ที่เค้าใช้ windows และโปรแกรมที่ใช้ติดต่อกันมักจะเป็นโปรแกรมที่ทำงานได้แต่บน windows ซะส่วนใหญ่ การที่จะต้อง boot กลับไปกลับมาเพิ่ออ่านเอกสารซักตัวมันคงไม่สดวกจะลง visuals machine อย่าง oracle virtualbox , vmware ก็หนักเครื่อง และไม่สดวกที่จะใช้ docker

การติดตั้ง

  1. เครื่องต้องเป็น windows 10 64 bit Version 1607 ขึ้นไป (ถ้าไม่ได้ปิด update และเครื่องต่ออินเตอร์เน็ตมี version มากกว่าตัวนี้อยู่แล้ว)
  2. เปิด settings app (รูปเฟืองที่เมนูบนปุ่ม shutdown) > Update & Security > For Developers เลือก Developer Mode.
  3. ไปที่ control panel > Programs > Turn Windows Features On or Off ติ๊ก Windows Subsystem for Linux (Beta) คลิก ok แล้ว restart
  4. Search bash แล้ว enter
  5. จะเห็นข้อความ
    -- Beta feature --
    This will install Ubuntu on Windows, distributed by Canonical
    and licensed under its terms available here:
    https://aka.ms/uowterms
    Type "y" to continue:
    

    พิมย์ y แล้ว เอ็นเตอร์

  6. รอให้มันติดตั้ง จะเห็นข้อความ

    Downloading from the Windows Store... 100%
    Extracting filesystem, this will take a few minutes...
    Please create a default UNIX user account. The username does not need to match your Windows username.
    For more information visit: https://aka.ms/wslusers
    Enter new UNIX username:

    ใส่ user และใส่ password หลัง Enter new UNIX password: และ Retype new UNIX password: ไม่ต้องเหมือนที่ใช้ใน windows เอาตัวเลขง่ายๆก็ได้ รอข้อความ

    passwd: password updated successfully
    Installation successful!
    The environment will start momentarily...
    Documentation is available at:  https://aka.ms/wsldocs
    pitt@xxx:/mnt/c/Windows/System32$

    เสร็จแล้วไฟล์จะถูกเขียนไว้ที่ ไฟล์จะถูกเขียนไว้ที่ %USERPROFILE%\AppData\Local\lxss

  7. ทดสอบโดยคำสั่ง sudo apt-get update
  8. Linux ใน windows พร้อมรับใช้แล้วครับ ไม่ยากเลย แล้วไปต่อกันที่ด่านต่อไป ลง Nginx, MariaDB, PHP And phpMyAdmin ใน linux subsystem

    อ่านเพิ่มเติม

ลง windows / linux ผ่าน usb

notebook สมัยนี้หลายๆเครื่องไม่มี drive dvd / cd ติดมาแล้ว ขณะเดียวกัน flash drive มันถูกมากแค่อันละ 200 ก็พอที่จะใช้ลง windows xp, windows 7, windws 8, windows 10, linux แถม linux อีกตัวก็ยังได้เลย

เพิ่ม os / boot cd ได้โดย

  1. เตรียมไฟล์ iso ของ os ที่ต้องการจะติดตั้ง ถ้ายังไม่มีก็ download มาจาก
    windows 10
    ดาวน์โหลด Windows 10
    kali linux
    Kali Linux Downloads
    Linux Mint
    Download Linux Mint 18 Sarah
    Hiren’s BootCD
    Hiren’s BootCD 15.2
    MiniTool® Partition Wizard 9
    MiniTool Partition Wizard Free Edition
  2. ระหว่างรอ download ไป download MultiBootUSB จาก http://multibootusb.org/ หรือ mbusb/multibootusb
  3. เปิดโปรแกรม MultiBootUSB ขึ้นมา
  4. Step 1 เลือก drive จากด้านขวามือ
  5. Step 2 Browse ISO เลือกไฟล์ Browser ที่ต้องการ
  6. Step 3 คลิก Create
  7. ถ้ามี alert ประมาณ Sorry. xxx is not supported at the moment Please email this issue to [email protected]
  8. จะมี folder ถูกสร้างขึ้นมาใน flash drive เช่น F:\multibootusb\kali-linux-2016.2-amd64F:\multibootusb\kali-linux-2016.2-amd64

ถ้าต้องการเพิ่มตัวติดตั้งหรือลบออกไปก็สามารถนำ flash drive มาเสียบกับคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ ไม่ต้องเป็นเครื่องเดิมในครั้งแรก จะเห็นรายชื่อ ด้านซ้ายมือ สามารถเลือกและคลิก Uninstall Distro เพื่อลบออกไป หรือถ้าต้องการเพิ่มเข้าไปใหม่ ก็ download มาแลัวเริ่ม Step 1 อีกครั้ง

ติดตั้ง composer แบบ manual

ต้องลง composer แต่ไม่มีสิทธิติดตั้งโปรแกรม หรือต้องลงหลายเครื่องๆ การลงแบบ manual จะเร็วกว่า

ติดตั้งโดย

  1. สร้างโฟลเดอร์ ขึ้นมา โดยปกติจะอยู่ที่ C:\ProgramData\ComposerSetup\bin
  2. สร้างไฟล์ composer.bat
     @echo OFF
    :: in case DelayedExpansion is on and a path contains !
    setlocal DISABLEDELAYEDEXPANSION
    php "%~dp0composer.phar" %*
  3. download composer.phar มาจาก Download Composer มา save ไว้
  4. เพิ่ม Path variable ตามวิธี แก้ / เพิ่ม windows environment variables registry
  5. ทดสอบโดยใช้ command
     composer –v

ถ้ายังใช้ไม่ได้ ให้ restart explorer.exe จากนั้นเปิด command line ใหม่ลองเช็คอีกครั้ง จะได้ไม่ต้อง restart windows ใหม่

อ่านเพิ่มเติม

ติดตั้ง laravel ลั๊ลลาเวล

  1. ก่อนอื่นถ้าไม่มี composer ก็ลงมันก่อน
  2. จากนั้น update เจ้า composer ซะก่อนตามธรรมเนียม รีสตาร์ต เพื่อป้องกันปัญหาเปิด command ออกมาพิมพ์
    composer self-update
    
  3. เพิ่มตัวติดตั้ง laravel ก่อนด้วยคำสั่ง
    composer global require "laravel/installer"
  4. ไปที่ที่จะเก็บงานก่อน
    D:
    cd D:\xampp\htdocs
    
  5. สร้างโปรเจคใหม่ชื่อ laravel52
    composer create-project --prefer-dist laravel/laravel laravel52
    

    ตอนนี้ไฟล์จะถูกสร้างขึ้นมาใน D:\xampp\htdocs\laravel52 เป็นอันสร้างโครงสร้างสำเร็จ

  6. เชื่อมต่อ database โดยไปที่ file \config\database.php แก้
    'default' => env('DB_CONNECTION', 'mysql'),
    

    เป็นชนิดฐานข้อมูลที่ใช้ได้คือ

    • MySQL
    • Postgres
    • SQLite
    • SQL Server

    หลังจากนั้นก็ไปแก้ ในอาเรย์ connections เฉพาะ index ที่ตรงกับค่าของ DB_CONNECTION

  7. สร้างตารางใหม่โดย command
    cd laravel52
    php artisan migrate
    

    เข้าไปดูใน databse ไม่มีอะไรเกิดขึ้น งง ซิครับ

  8. เป็นเพราะ laravel ใช้ config ในไฟล์ .env แก้
    DB_CONNECTION=mysql
    DB_HOST=127.0.0.1
    DB_PORT=3306
    DB_DATABASE=homestead
    DB_USERNAME=homestead
    DB_PASSWORD=secret
    

    และ command

    php artisan migrate
    

    อีกครั้ง ถ้า config ถูกต้องจะมีตาราง migrations, password_resets, users ขึ้นมา

การติดตั้งเบื่้อต้นสำเร็จแล้ว

ติดตั้ง moodle

  1. ถ้าไม่มี server ให้ Download xampp มาจาก http://Apache Friends
  2. Download moodle มาจาก moodle.org
  3. แตกไฟล์ออกมา ไว้ที่ C:\xampp\htdocs
  4. เปิดเว็บ http://localhost/moodle
  5. เลือกภาษา ผมเลือก Thai (th) กด ต่อไป
  6. ไดเรกทอรีข้อมูล เพื่อความปลอดภัย ให้ไปสร้าง folder ใหม่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้จากเว็บ เช่น D:\moodledata กด ต่อไ
  7. Choose database driver เลือก Improved MySQL (native/mysqli) กด ต่อไป
  8. Database settings ปกติ xampp จะใช้
    • Database host : localhost
    • Database name : moodle ตั้งชื่อตามต้องการหรือตามที่โฮสต์ที่เราเช่าสร้างไว้
    • Database user ใช้ root
    • Database password ถ้าลงใน xampp ปกติจะไม่มีรหัสผ่าน

    กด ต่อไป

  9. หน้าลิขสิทธิสรุปง่ายๆ คือ เราแจกฟรี ดังนั้นถ้ามีปัญหาอะไร ก็ฟ้องทางเราไม่ได้นะ รออะไรอยู่ กด ขั้นต่อไป
  10. ถ้าการทดสอบล้มเหลว ติดต่อ host เลยครับ อย่าลืม save หน้านี้ส่งให้เค้าไปดูด้วย ถ้าผ่าน (มีสีเหลืองไม่เป็นไร) กด ต่อ
  11. ไป

  12. ขั้นตอนนี้จะสร้างตารางในฐานข้อมูล จะนานเป็นพิเศษ ลุกไปชงกาเฟได้ กลับมา กด ต่อไ
  13. ถ้าเจอข้อความ “ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ PHP เซสชั่น ตรวจสอบว่าบราวเซอร์สามารถใช้งานคุ้กกี้” ให้
    1. เปิด phpmyadmin ไปที่ SQL ใส่
      UPDATE `moodle`.`mdl_config` SET `value` = '/' WHERE `mdl_config`.`name` = 'sessioncookiepath';
      UPDATE `moodle`.`mdl_config` SET `value` = '1' WHERE `mdl_config`.`name` = '%sessioncookie%';
    2. ลบทุกอย่างใน D:\moodledata ออกจนหมด
  14. กรอกข้อมูล ใน General ก็พอ แล้วกด update profile เป็นอันเสร็จ

ติดตั้ง YII

ลง yii ไม่อยาก ไม่กี่นาทีก็ได้โครงของโปรเจคแล้ว

  1. โหลดตัว framework มาก่อนจาก yiiframework
  2. แตกไฟล์ใส่ htdocs folder ของผมอยู่ที่ D:\xampp\htdocs (ปกติคือ C:\xampp\htdocs)
  3. ถ้าแตกไฟล์เก็บไว้ใน folder D:\xampp\htdocs\yii1 เปิด command พิมพ์
    • d: กด enter
    • พิมพ์ cd D:\xampp\htdocs\yii1\framework กด enter
  4. สร้าง Skeleton Application ถ้าต้องการสร้าง project ชื่อ JumpFlower (คืออะไรหาได้ใน google) เก็บที่ D:\xampp\htdocs\yii1\JumpFlower พิมพ์
    yiic webapp <b>D:\xampp\htdocs\yii1\JumpFlower

    แล้ว enter ตอบ yes รอจนขึ้นข้อความ “your application has been create successfully under …”

  5. เปิดไฟล์ D:\xampp\htdocs\yii1\JumpFlower\protected\config\database.php แก้ เอา comment ออก ใส่ชื่อ database username password ใม่ตามที่ใช้จริง
    <?php
    
    // This is the database connection configuration.
    return array(
    	'connectionString' => 'sqlite:'.dirname(__FILE__).'/../data/testdrive.db',
    	'connectionString' => 'mysql:host=localhost;dbname=yii1',
    	'emulatePrepare' => true,
    	'username' => 'root',
    	'password' => '',
    	'charset' => 'utf8',
    	'tablePrefix'=>'tbl_',
    );

เสร็จ!

วิธีลง Python บน windows 7 / 8

ลงไพธอนใหม่ที่ไรเป็นจะต้องหาวิธีลงใหม่ทุกครั้ง เพราะว่าวิธีในคู่มือใช้กับ windows 7 / 8 ไม่ได้ เลยขอจดไว้กันลืม

  1. โหลด Python มาจากเว็บ ลงให้เรียบร้อย
  2. ไปที่ control panel (windows 8 กด win key + x ) > Control Panel > System and Security > System
  3. คลิก Advance system settings
  4. คลิกแท็ป Advance กดปุ่ม Environment Variables ด้านล่าง
  5. จะเห็นหน้าต่าง Environment Variables เปิดขึ้น
  6. กด New มา ใต้ System variables ในช่อง Variable name: ใส่ Path
    ช่อง Variable value ใส่ path ที่ลงโปรแกรมไว้เช่น C:Python27;C:Python27DLLs;C:Python27Lib;C:Python27Liblib-tk (ให้แทนที่ C:Python27 ด้วย path ที่ลง python ไว้)
  7. ทดสอบโดยเปิดหน้า command ชึ้นมาใหม่ พิมย์ echo %Path% ถ้าเห็น path ที่ใส่เข้าไปแสดงว่าใช้ได้