Category Archive Life

Byphunsanit

คำนี้ มีที่มา

ดูหนังจีน หนังเกาหลี เรียกข้าราชการระดับสูงว่าใต้เท้า เรียกพระราชาว่า ฝ่าบาท เวลาดูเปิดสภา ก็มีคำว่า ไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เคยสงสัย ว่าทำไม ในเมื่อคนเอเชียนับถือศีรษะว่าเป็นของสูง ที่มีเกียติ เท้าเป็นของต่ำ การให้เห็นเท้า หรือใช้เท้าทำบางกิริยาถือว่าไม่สุภาพ เป็นอย่างมาก ผิดกับฝรั่งที่เอาเท้าชี้กันเป็นเรื่องธรรมดา ทำไมใช้คำนี้แทน ผู้ที่เป็นที่เคารพ
คำนี้มีที่มาจากในสมัยพระพุทธกาล ขอคัดลอกมาจากเว็บ อภิโชค.คอม
เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระญาติผู้ใหญ่ถือว่าสูงอายุไม่ถวายบังค

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าขณะนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเพื่อประกาศพระศาสนาอยู่ในแคว้นมคธ
ด้วยพระทัยปรารถนาที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่ในฐานะหนึ่ง คือ พระราชโอรส พระเจ้าสุทโธทนะจึงส่งคณะฑูตไปทูลอาราธนา
ทุกคณะที่ส่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมแล้วสำเร็จอรหันต์ ทั้ง ๙ คณะ มีจำนวนถึงพันคน
แต่ยังไม่มีท่านใดได้กลับมาทูลรายงานให้พระเจ้าสุทโธทนะได้ทราบ

พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงส่งคณะอำมาตย์ เป็นคณะที่ ๑๐ ไปอีก
มี “กาฬุทายี” เป็นหัวหน้า ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยและเป็นสหชาติ คือ เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า
ก่อนออกเดินทางไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า กาฬุทายีทูลขอลาบวช
เมื่อบวชแล้วจะทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ให้จงได้ พระเจ้าสุทโธทนะทรงอนุมัติ

ภายหลังเมื่อกาฬุทายี ได้ฟังธรรมจนสำเร็จอรหันต์ ได้ขอบวชเป็นพระสาวกพร้อมทั้งบริวารที่ติดตามไปแล้ว
บังคมทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนา

จึงเสด็จพร้อมด้วยพระสาวก ๒ หมื่นรูป ขณะนั้นเป็นหน้าแล้ง ย่างเข้าหน้าฝน
เสด็จออกเดินทางเป็นเวลาสองเดือน จึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์
แล้ว เสด็จเข้าประทับในอารามของเจ้าศากยะผู้หนึ่ง ซึ่งชื่อว่า “นิโครธ”
ซึ่งพวกเจ้าศากยะพระญาติจัดถวายให้เป็นที่ประทับ อารามในที่นี้ไม่ใช่วัด แต่เป็นสวน เป็นอุทยานอยู่นอกเมือง
พวกพระประยูรญาติรวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะ ได้พากันมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อารามแห่งนี้

เจ้าศากยะ พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้าที่เป็นชั้นผู้ใหญ่ ต่างถือองค์ว่าเป็นพระญาติผู้ใหญ่
มีพระชนม์สูงกว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นเพียง ๓๖ ปีกว่าๆ จึงไม่ถวายอภิวาทบังคม
แต่ส่งเจ้าชายเจ้าหญิงศากยะเยาว์วัยกว่าพระพุทธเจ้า ออกไปอยู่แถวหน้า ให้ไหว้พระพุทธเจ้าแทน
ส่วนพวกตนอยู่แถวหลังไม่ยอมไหว้

ด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในอากาศ แล้วโปรยละอองธุลีพระบาทลงเหนือศีรษะของบรรดาเจ้าศากยะ

พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น จึงทรงประนมพระหัตถ์อภิวาทพระพุทธเจ้า
ฝ่ายพระประยูรญาติทั้งปวงในที่นั้นก็ต่างสิ้นทิฐิมานะ แล้วถวายอภิวาทพระพุทธเจ้าพร้อมกันทั่วทุกองค์

“ในทันใดนั่นเอง มหาเมฆใหญ่ได้ตั้งเค้าขึ้นมา แล้วหลั่งสายฝนลงมาห่าใหญ่ ฝนนั้นเรียกว่า ‘โบกขรพรรษ’ มีสีแดง
ผู้ใดปรารถนาหรือประสงค์ให้เปียก ย่อมเปียก ไม่ปรารถนาให้เปียก ก็ไม่เปียก โดยเม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกายเหมือนหยาดน้ำกลิ้งจากใบบัว”

หมาบความว่า “พระญาติทุกพระองค์จากกันกับพระพุทธเจ้าเป็นเวลาช้านาน มาได้เห็นกันเข้า ก็ชื่นบาน เหมือนได้รับน้ำฝนชุ่มฉ่ำหฤทัย”

ตามความเข้าใจผม การเรียกว่า ใต้เท้าจึงหมายถึง ผู้ที่น้อมรับคำสอนพระพุทธเจ้า หรือ กษัติย์ที่ทรงทศพิราชธรรม ผ่าละอองทุลีบาท คือ พระธรรมของพระองค์ ที่ถ้าเทียบกับเหล่ากษัตริย์ แล้ว มีค่าเพียง ฝุ่นที่อยู่ใต้เท้าพระพุุทธเจ้าเท่านั้น (ค้นเจอว่า มีคนตอบว่า เป็นการยกยองพระชาชา ว่าเป็นญาติกับประพุทธเจ้า อีกความเห็นหนึ่ง) ส่วนเมฆคงจะแทนการยอมรับคำสั่่งสอน ใครยอมรับฟังพระธรรมก็ได้อานิสงค์ไป ใครเฉยๆ ก็ผ่านไปเหมือนน้ำกล้งบนใบบัว อันนี้ เป็นความเห็นส่วนตัว เพราะผมไม่เชื่อในปาติหารต่างๆ นะครับ ยังไงถ้าเจอบทความของผู้รู้จริงๆ จะเอามาดูกันอีกที