Tag Archive การติดตั้ง

Byphunsanit

ลง ubuntu ใน windows แบบ subsystem

หนึ่งในความประหลาดของ windows 10 คือ มันสามารถลง linux ไว้ในตัวของมันได้แบบไม่ใช้ virtual server หรือ duel boot แต่ Microsoft เรียกมันว่า subsystem โดยเป็น linux ที่ได้มาจากพันธมิตร Ubuntu (ไม่เคยคิดเลยว่า 2 เจ้านี้จะทำงานร่วมกันได้)

สาเหตุที่ควรเพิ่ม linux เข้ามาในเครื่อง เพราะว่า php จริงๆแล้วมันเหมาะกับ linux มากกว่า แต่เพราะในการทำงานใน office เรายังจำเป็นจะต้องติดต่อกับ user อื่นๆ ที่เค้าใช้ windows และโปรแกรมที่ใช้ติดต่อกันมักจะเป็นโปรแกรมที่ทำงานได้แต่บน windows ซะส่วนใหญ่ การที่จะต้อง boot กลับไปกลับมาเพิ่ออ่านเอกสารซักตัวมันคงไม่สดวกจะลง visuals machine อย่าง oracle virtualbox , vmware ก็หนักเครื่อง และไม่สดวกที่จะใช้ docker

การติดตั้ง

    1. เครื่องต้องเป็น windows 10 64 bit Version 1607 ขึ้นไป (ถ้าไม่ได้ปิด update และเครื่องต่ออินเตอร์เน็ตมี version มากกว่าตัวนี้อยู่แล้ว)
    2. เปิด settings app (รูปเฟืองที่เมนูบนปุ่ม shutdown) > Update & Security > For Developers เลือก Developer Mode.
    3. ไปที่ control panel > Programs > Turn Windows Features On or Off ติ๊ก Windows Subsystem for Linux (Beta) คลิก ok แล้ว restart
    4. Search bash แล้ว enter
    5. จะเห็นข้อความ
      -- Beta feature --
      This will install Ubuntu on Windows, distributed by Canonical
      and licensed under its terms available here:
      https://aka.ms/uowterms
      Type "y" to continue:
      

      พิมย์ y แล้ว เอ็นเตอร์

รอให้มันติดตั้ง จะเห็นข้อความ

Downloading from the Windows Store... 100%
Extracting filesystem, this will take a few minutes...
Please create a default UNIX user account. The username does not need to match your Windows username.
For more information visit: https://aka.ms/wslusers
Enter new UNIX username:

ใส่ user และใส่ password หลัง Enter new UNIX password: และ Retype new UNIX password: ไม่ต้องเหมือนที่ใช้ใน windows เอาตัวเลขง่ายๆก็ได้ รอข้อความ

passwd: password updated successfully
Installation successful!
The environment will start momentarily...
Documentation is available at:  https://aka.ms/wsldocs
pitt@xxx:/mnt/c/Windows/System32$

เสร็จแล้วไฟล์จะถูกเขียนไว้ที่ ไฟล์จะถูกเขียนไว้ที่ %USERPROFILE%\AppData\Local\lxss

    1. ทดสอบโดยคำสั่ง sudo apt-get update

Linux ใน windows พร้อมรับใช้แล้วครับ ไม่ยากเลย แล้วไปต่อกันที่ด่านต่อไป ลง Nginx, MariaDB, PHP And phpMyAdmin ใน linux subsystem

อ่านเพิ่มเติม